My Pride

My Pride
เราภูมิใจที่มีส่วนในการขุดค้นเงินเหรียญต่างๆ ที่มีพระรูปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขึ้นมาจากใต้พื้นดินเพื่อให้พ้นจากการเหยียบย่ำไปมาของผู้คน แม้เป็นงานไม่ยิ่งใหญ่ แต่ความภูมิใจติดตัวเราตลอดไป........ My searching is not just a hunting treasure covered underneath, but I’m also proudly searching for Thai coins with the portrait of His Majesty the King on one side. His Majesty the King is regarded as the highest respectful institution of Thailand. The coins should not be underground so that the people step on them. They should be recovered. Even my work is just a small job, I’m proud to retrieve them from dirt.

Collection Exchange

Collection Exchange
หากท่านใดสนใจและต้องการแลกเปลี่ยนสิ่งของสะสมและวัตถุมงคลซึ่งพบมาจากการ detecting ตามสถานที่ต่างๆ ที่อยู่บนหน้านี้กับของของท่านกรุณาติดต่อสอบถามพูดคุยได้ที่ "ลุงวรรณ" ksuwan@gmail.com และหากท่านมีของสะสมอยากแลกเปลี่ยนกับท่านอื่น "ลุงวรรณ" ยินดีเป็นสื่อกลางให้......................If you are true antique lovers, collectors and would like to get some of these artifacts to put into your collection, please contact Mr. Suwan at ksuwan@gmail.com

18 July 2010

White's BeachHunter®ID (5)



กระเป๋า (Hipmount Bag)

กระเป๋าของเครื่องรุ่นนี้ white's แถมมาให้ด้วย แม้จะไม่หรูหรา แต่ใช้ประโยชน์ได้เยอะ เป็นรูปกระเป๋าหุ้มเครื่อง เราถอดเครื่องออกมาจากก้าน นำมาร้อยกับเข็มขัด ทำให้เบาแขน ไม่เมื่อย

White's BeachHunter®ID



ก้านถือท่อนบน (S-Rod)

ก้านสำหรับจับของเครื่องรุ่นนี้มีสามท่อน ถอดประกอบได้สะดวกดี มีท่อนล่างที่ติดกับจานหรือ loop ท่อนกลางและท่อนบนที่เราเรียนว่าก้านรูปตัว S ท่อนนี้จะมีโฟมจับกันลื่น เพื่อให้มั่นขึ้น ท่อนนี้จะติดกับแผงรองแขน

White's BeachHunter®ID (4)



แผงรองแขน (Elbow Cup)
แผ่นโค้งรองแขนของเครื่องรุ่นนี้ค่อนข้างดี มีแผ่นโฟมรองข้างในสองข้าง มีสายรัดแขนแถมมาให้ด้วย ผมชอบเพราะต่างจากเครื่องยี่ห้อ Minelab และ Fisher ซึ่งต้องหาสายรัดเองเพื่อไม่ให้กระดกขณะเดินแกว่งจานไปมา

White's BeachHunter®ID (3)


จาน (Loop)

จานหรือ coilของเครื่องรุ่นนี้ มีลักษณะเป็นรูปตัวโอ แม้จะมีขนาดใหญ่ แต่มีน้ำหนักเบามากเมื่อเทียบกับจานแบบ spider ของFisher แม้บางคนจะบ่นว่าหาในน้ำไม่ดีนัก แต่ผมลองใช้แล้ว ก็ไม่เลว ถ้าไม่มีคลื่นมากนักก้ถือว่าโอเค หากมีคลื่นแรงๆ ก็กดๆ หน่อยเพื่อให้ติดๆ พท้นทรายใต้น้ำก็ถือว่าใช้ได้

White's BeachHunter®ID (2)


หูฟัง (Headphone)
หูฟังของเครื่องรุ่นนี้กระชับหูดีมาก ดีกว่าเครื่องหบายยี่ห้อ ดีกว่า Minelab's Excalibure II เสียด้วยซ้ำ ปรับขึ้นลงให้เข้ากับหัวเราได้กว่า ไม่หลวมเหมือนเครื่องหลายรุ่น ปรับแล้วล้อกได้ดี ไม่หลุดลงมาเหมือนของ excalibur

17 July 2010

White's BeachHunter®ID



มีเพื่อนๆ ฝากบอกมาว่า อยากให้แจงรายละเอียดของเครื่อง White's รุ่น Beach Hunter ID หน่อย หากไม่นำมาให้ดูก็เกรงจะใจดำไปหน่อย ลองดูเครื่องก่อนนะครับ

ก่อนอื่น ลักษณะภายนอกของตัวเครืองเป็นทรงสี่เหลี่ยม เบามาก รูปทรงคล้ายๆ กล่องข้าวกลางวันตอนเราเป็นนักเรียนประถมนั่นแหละ ด้านหนึ่งของเครื่องมีวิธีใช้เครื่องอย่างง่ายๆ สกรีนแปะติดไว้ให้ มีปุ่มควบคุมสามปุ่ม ได้แก่ ปุ่มThreshold ปุ่มSensitivity และปุ่ม Ground

ข้างๆ สันตัวเครื่องใต้ปุ่มมีไฟโชว์เพื่อให้ทราบว่าโลหะเป็นประเภทใด มีอยู่สามช่อง ไฟสีแดง แสดงว่าโลหะที่ตรวจพบเป็นพวกเหล็ก เช่นตะปู ลวด ฝาขวดน้ำอัดลม กิ้บติดผม

ไฟสีเหลืองเป็นพวกแหวนเพชรแหวนพลอย แต่บางทีอลูมินั่มก็อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย

ส่วนไฟสีฟ้าแสดงให้เราทราบว่าเป็นโลหะจำพวกเหรียญต่างๆ และใช้เป็นปุ่มทดสอบว่าแบตตารี่เราเหลืออีกแค่ไหน ดูง่ายดี

เรื่องปุ่มนี้มีเรื่องตลกอยากเล่าให้ฟัง พรรคพวกของเราบางคนเข้าใจว่าถ้ามีปุ่มเยอะๆ จะดี ดูจะเข้าใจคลาดเคลื่อนไปนิดนึง การที่เครื่องจะดีหรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวกับปุ่มมากปุ่มน้อยหรอกครับ อยู่ที่ระบบการทำงานของเครื่องครับ ปุ่มเป็นแค่เครื่องช่วยการควบคุมเท่านั้น

9 June 2010

Excalibur II Review (VII)



Water-Resistant Alkaline Battery Pack

แบตตารี่แบบ Water-Resistant Alkaline ลูกนี้พอจะใช้ในน้ำได้ แต่ลึกไม่เกิน ๓ เมตรหรือประมาณ ๑๐ ฟุต ก็ดำน้ำได้ลึกแค่พอประมาณเท่านั้น แบตฯลูกนี้ไม่สามารถใส่ถ่านชาร์ตได้ ผมได้เป็นของแถมมาจากตัวแทนจำหน่าย คุณแมว คุณคีธขอมาให้ ต้องขอขอบคูณมา ณ ที่นี้ครับ

17 May 2010

Excalibur II Review (VI)



Mains Charger

ตัวชาร์ตของ Mains Charger มีทั้งแบบ 110V (ที่ใช้ในสหรัฐ) แบบ 230V (ที่ใช้ในสหภาพยุโรปหรือ EU) และแบบ 240V (ที่ใช้ในออสเตรเลีย) ส่วนบ้านเรานั้นเป็นแบบ 220 V ก็ใช้แบบมี ground แบบ 3 รูที่ใช้กับปลั้กคอมพิวเตอร์ทั่วไป

ตัวชาร์ตยี่ห้อนี้เป็นแบบง่ายๆ หยาบๆ สไตล์ China-made ทั่วไป ก็ถือเสียว่าแมวสีอะไร จับหนูได้ก็โอเค ให้ชาร์ตได้ก็ถือว่าจบ

ผมยังชอบรายละเอียดโดยรวมของ White’s มากกว่า งานเรียบร้อยกว่าของ Minelab เยอะ

1 May 2010

Excalibur II Review (V)



หูฟัง (Headphone)

หุฟังของ Excalibur II รุ่นนี้สีเหลืองมองเห็นแต่ไกล ส่วนรายละเอียดนั้นผมว่าสู้หูฟังของ White's ไม่ได้ เพราะหูฟังรุ่นนี้ไม่ได้ล้อกหลังจากปรับแล้ว แต่ปล่อยไว้หลวมๆ ไม่มีร่องล้อกเหมือนของ Fisher และ White's

แรกๆ ผู้ใช้อาจอึดอัด เพราะบางทีหลวมมากต้องตอยปรับดึงขึ้นไปอยู่เรื่อย ๆ น่ารำคาญพอสมควร โดยเฉพาะคนที่มีกระโหลกเล็กแบบคนเอเชียอย่างผม พุดง่ายๆ ว่าหลวมแล้วปรับขึ้นไปก็เลื่อนลงมาอีก แต่พอเล่นไปสักพักก็ชิน

บางคนอาจมีวิธีแก้ปัญหาโดยการพับกระดาษแผ่นเล็กๆ เสียบเข้าไปกันลื่นไหลก็พอช่วยได้อยู่ แต่แหม ของราคาห้าหมื่นกว่าต้องคอยเอากะดาษอีดเข้าไป ดูน่าสังเวชไปหน่อย ก็ขอติหน่อยละกัน ไม่ได้ตำหนิอะไรมาก

30 Apr 2010

Excalibur II Review (IV)



กระบอกจ่ายไฟหรืือ Battery

แบตตารี่ของเครื่องรุ่น Excalibur II นี้ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกคล้ายๆ กับตัวเครื่อง แต่สั้นกว่าเป็นแบตฯแบบ NiKH แบบชาร์ตได้ ไม่ได้ใช้อัลตาไลน์เหมือนอีกหลายยี่ห้อ หากถามว่าผมชอบมั้ย ยังไม่ชอบเพราะหากแบตหมดกระทันหัน เราหมดโอกาสเล่นต่อ เนื่องจากต้องใช้เวลานานในการชาร์ต หากจะซื้อสำรองไว้อีกชุดก็เลิกคิดเพราะราคานั้นก็ตกหลายพันอยู่ (ผมไม่แน่ใจว่าราคาเท่าไร ต้องรอสอบราคาที่คุณแมวดูก่อน ราคาที่เมืองนอก Alkaline Battery Pack ราคา $US 79.95 ส่วน แบตฯแบบ NiMH Battery Pack ราคา US$ 159.85)

อย่างไรก็ตาม มีกล่องแบตฯอีกรุ่นหนึ่งที่ใช้อัลคาไลน์ได้ แต่เราไม่สามารถนำไปเล่นใต้น้ำได้เพราะเป็นแค่ water prove ไม่ใช่ water resist กันน้ำเล็กๆ น้อยๆ ได้ เล่นบนบกได้

ด้านหนึ่งของแบตจะมีสายและปลั้กล้อกกับตัวเครื่อง ตรงนี้กันน้ำได้ เพราะมียางแบบพิเศษคั่นไว้ ก็นับว่าปลอดภัยดี ผมลองนำลงไปหาในน้ำ ยังไม่เกิดอะไรขึ้นเพราะน้ำตื้นแค่เอวเท่านั้น เปียกเครื่องเพียงนิดหน่อย น้ำยังไม่เข้ารอยเชื่อมของแบตฯ

ในคู่มือของ Excalibur II บอกไว้ว่า หากชาร์ตแบตฯจนเต็ม (ก็ต้องเดาๆเอาเองว่าเต็มเมื่อไรเพราะไม่มีสัญญาณไฟบอก)สามารถเล่นได้นานถึง ๑๔ -๑๙ ชม. ผมลองนำไปเล่นสองครั้ง แบตฯ ใช้ได้ครั้งละแต่ ๓ ชม. ก็มีเสียงร้องเตือนว่าแบตฯใกล้หมดแล้ว

ผมคิดว่าน่าจะมีอะไรผิดปกติ สอบถามไปที่ตัวแทนจำหน่ายเพื่อติดต่อบริษัทฯให้ทราบเรื่องนี้ บริษัทฯ เมล์มาให้ข้อแนะนำว่าให้ล้างแบตฯ (cycle) ใหม่ ผมทำตามคำแนะนำ แต่ไม่ได้ผล ท้ายที่สุดต้องส่งแบตฯกลับไปเพื่อตรวจสอบและเปลี่ยนใหม่ คุณคีธ คุณแมวซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายช่วยได้มากทีเดียว พร้อมกับขอแบตตารี่แพ็คที่ใช้กับอัลคาไลน์มาให้อีกหนึ่งอัน ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

Excalibur II Review (III)



Coil หรือจาน

Slimline coil หรือจานของเครื่องรุ่น Excalibur II นี้ออกแบบเป็นรูปตัว D สองตัวหันหน้าเข้าหากัน ไม่ได้เป็นแบบ spider เหมือนกับของ Fisher CZ-21 แต่ประการใด น้ำหนักไม่มากเมื่อรวมกับก้านถือ ใต้จานมีปอกสีเหลือง (Skidplate) หุ้มไว้เพื่อกันรอยขีดข่วนที่ใต้ท้องจาน

จานหรือ coil รุ่นนี้มีสองขนาด แบบเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘ นิ้วและแบบ ๑๐ นิ้ว ในบ้านเรานั้นสั่งมาเป็นแบบ ๘ นิ้วเพราะน้ำหนักเบากว่า ส่วนประสิทธิภาพระหว่างสองแบบนี้บริษัทบอกว่าใกล้เคียงกัน ผมยังไม่ได้ลองแบบ ๑๐ นิ้ว จึงยังไม่ทราบว่าต่างกับแบบ ๘ นิ้วอย่างไร เท่าที่ลอง จานรุ่นนี้จะบางกว่าจานของ Fisher

อย่างไรก็ตาม หลังจากทดลองเล่นครั้งละ ๔ ชม. สองครั้ง ผมพบว่าน้อตที่ขันระหว่างจานกับก้านถือนั้นขันแน่นอย่างไรก็หลวม พอเดินไปนานๆ จานอาจไม่ได้องศากับพื้นเหมือนที่ตั้งไว้ ต้องคอยปรับอยู่บ่อยๆ น้อตของ Excalibur II นี้สู้ของ Fisher CZ ไม่ได้เพราะแน่นกว่าไม่เอียงเบี้ยวเหมือนของ Minelab Excalibur ผมว่าบริษัทแก้ปัญหาง่ายๆ ไม่ได้ก็ไม่ต้องเดาว่าอย่างอื่นก็คงชุ่ยเหมือนกัน

ผมเปิดไปที่เว็บของ Kellyco มีคนหัวใสแก้ปัญหานี้โดยการทำ Loop support ออกจำหน่ายเพื่อแก้ปัญหาจานงุ้มลงหรือเงยขึ้น ก็ได้แต่หวังว่า Minelab คงแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ในเร็ววันนี้

ส่วนของผมนั้นแก้ปัญหาด้วยการใส่แหวนยางที่ใช้กับสายยางสุขภัณฑ์ไปที่หัวน้อตตัวผู้ ได้ผลดีครับ ไม่โยกคลอนอีกเลย

Excalibur II Review (II)



ลักษณะตัวเครื่องของ Minelab Excalibur II รุ่นนี้แตกต่างจากยี่ห้ออื่น ตัวเครื่องป็นรูปทรงกระบอกยาว ไม่ได้เป็นกล่องเหมือนกับยี่ห้ออื่นๆ หากล้อกติดกับก้านถือน้ำหนักไม่เบาเชียวหละ สองกิโลเศษๆ เดินนานๆ ก็หนักเอาเรื่องอยู่

น่าเสียดายที่บริษัทไม่ได้แถมประเป๋ามาให้ ต้องซื้อแยกต่างหาก ไม่รู้จะขี้เหนียวทำไม ราคาเครื่องก็ปาเข้าไปกว่าห้าหมื่นบาท (ที่ต่างประเทศราคา ๑.๑๘๙ ดอลลาร์) เขาแถมแต่ประเป๋าใส่ของแบบแบนๆ พกหน้าท้องมาให้ เราไม่อยากได้เพราะไม่ค่อยได้ใช้ เราซื้อกระเป๋าที่แม่ค้าในตลาดใส่ทอนเงินมาใช้ ดีกว่ากันเยอะ

ทางเลือกของเราคือเราดัดแปลงเอาเองโดยใช้สายรัดแบบหัวล้อกมาใช้ ก็ใช้งานได้ดีโดยห้อยร้อยติดกับเข็มขัดรัดเอว สบายไปเยอะเลย ไม่หนักมาก ลองประดิษฐ์เองดูก็ได้หากไม่ชอบแบบที่ผมทำ ไม่ต้องเสียค่าที่คาดเอวหรือ Hip-mount Kit ของบริษัทที่ขายแยกต่างหากในราคาประมาณ ๒,๐๐๐ บาท

Minelab's Excalibur II Review (I)



ผมได้เครื่อง Minelab รุ่นนี้มาจากคุณแมวซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย Minelab's Detectors และทดลองใช้ไปแค่สองครั้ง จึงยังไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่าเครื่องรุ่นนี้ดีกว่าเครื่องยี่ห้ออื่นๆ อย่างไร แต่พอบอกได้ในลักษณะทั่วๆ ก่อนครับ

เครื่องรุ่นนี้เป็นเครื่องตรวจโลหะประเภท Underwater detector สามารถนำไปใช้งานใต้น้ำได้ นั่นหมายถึงว่ามีระบบกันน้ำและความกดดันใต้น้ำได้ลึก ๖๐.๙๕ เมตรหรือ ๒๐๐ ฟุต ในบ้านเรานั้นยังไม่มีใครนำไปใช้งานใต้น้ำมากนัก ส่วนใหญ่ใช้งานตามชายหาดหรือลงน้ำบ้างในระดับเอวหรือแค่หน้าอกเท่านั้น ไม่ได้ดำแบบนักประดาน้ำ ดังนั้นพวกเขาบางคนซื้อเครื่องแบบใช้งานใต้น้ำมาเพื่อแค่กันน้ำได้เท่านั้น ส่วนคุณภาพก็ว่ากันอีกที

บ้านเรานั้น นักหาของหรือ Metal detectorist ยังไม่ค่อยให้ความสนใจเทคโนโลยีของเครื่องเแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อเท่าใดนัก แต่จะให้ความสำคัญกับยี่ห้อเท่านั้น ก็เล่นกันไปตามกระแส หากเพ่ือนๆ ซื้อยี่ห้อดังแบบ hi-end ก็คิดว่าดีเพราะการเล่นเครื่องหาโลหะนี้จำกัดอยู่ในวงแคบ ความรู้และข่าวสารยังเข้าไม่ถึงอาจเนื่องมาจากกีฬาประเภทนี้ยังแคบอยู่ก็เป็นได้

และการใช้เครื่องประเภทใต้น้ำ ผู็ใช้ก็ยังยึดติดเครื่องตรวจโลหะใต้น้ำกับยี่ห้อ Fisherโดยเฉพาะรุ่น CZ-20 (ปัจจุบันเลิกผลิตไปแล้ว) ซึ่งใช้ใต้น้ำได้ (ส่วนจะดีหรือไม่ดีนัน อีกเรื่องหนึ่ง) กับรุ่น CZ-21ซึ่งออกมาใหม่ล่าสุด แต่ยังมีข้อเสียอยู่บ้างในเรื่องของรอยเชื่อมต่อระหว่าง Search coil กับสายเคเบิล มีปัญหามาตลอด ผมลองใช้มาแล้วทั้งสองรุ่น ยังไม่ประทับใจนัก

เครื่อง Excalibur II รุ่นนี้ออกวางจำหน่ายหลังจากบริษัท Minelab ได้ออกเครื่อง excalibur รุ่น 800 (จาน ๘ นิ้ว) กับรุ่น 1000 (จาน ๑๐ นิ้ว) ไปก่อนหน้านี้จะผิดเพิ้ยนกันตรงสีของเครื่องส่วนการใช้งาน จะค่อยๆ ทะยอยนำมาบอกเล่ากันครับ

5 Apr 2010

Excalibur II ของ Minelab


Excalibur II


บริษัท Minelab คุยไว้ในแผ่นโฆษณาของเขาว่าเครื่องรุ่นนี้เป็นเครื่องตรวจโลหะที่ดีที่สุดหรือ The World’s Best Water Detector เท็จจริงอย่างไรมาลองดูคุณสมบัติเครื่องของเขาก่อนดีกว่า

เครื่องรุ่นนี้แตกต่างจากเครื่องยี่ห้ออื่นตรงที่ว่าเขาใช้เทคโนโลยีแบบ Broad Band Spectrum (BBS) ประสานกับเทคโนโลยีที่เรียกว่า superior ground rejecting technology หรือการตัดพื้นดินที่เหนือชั้นทำให้ Excalibur II เป็นเครื่องหาโลหะใต้น้ำในฝันของคนหาของ เครื่องรุ่นนี้ใช้ได้ทั้งบนบก ตามหาดทรายและใต้น้ำ เพราะสามารถใช้ใต้น้ำได้ลึกถึง ๖๖ เมตร หรือ ๒๐๐ ฟุต (ในบ้านเรายังไม่มีใครใช้ในน้ำลึกขนาดนั้น นอกจากนักโบราณคดีใต้น้ำ)

สรุปว่าไม่ว่าจะหาของตามพื้นดินหรือตามชายหาด หรือในน้ำ เครื่องรุ่นนี้เป็นอีกรุ่นที่น่าสนใจ แต่ในบ้านเรานั้นยังไม่แพร่หลายนัก แต่มีตัวแทนนำมาจำหน่ายแล้วตอนนี้ ติดต่อคุณ คีธได้ครับ

คุณสมบัติเฉพาะของเครื่อง

• เทคโนโลยีแบบ BBS มี ๑๗ ช่วงคลื่น (ตั้งแต่ 1.5kHz ไปจนถึง 25.5kHz).
• High Visibility (Hi-Vis) fluorescent bodywork.
• จานแบบ Slimline l เป็นรูปตัว D สองตัวหรือที่เรียกว่า duble D(มีให้เลือกทั้งแบบ 8” หรือ 10” ) เพื่อลดน้ำหนักให้สมดุลย์กับเครื่อง
• ใช้แบตตารี่กล่อง NiMH แบบชาร์ตได้ สามรถใช้งานได้ถึง ๑๒ ชม.
• ปลอกหุ้มจานแบบ Hi-Vis Skid
• ก้านถือเลื่อนได้เพื่อให้เพมาะกับระดับความลึกของน้ำ

ศัพท์น่ารู้

Broad Band Spectrum (BBS)คืออะไร

BBS เป็นเทคโนโลยีการตรวจโลหะโดยการใช้ความถี่แบบหลายความถี่ของ Minelab เจ้า BBS นี้จะส่งสัญญาณคลื่นความถี่ช่วงกว้างตั้งแต่ช่วงความถี่ 1.5 kHz ไปจนถึง 25.5 kHz ช่วงความถี่แบบนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายและสภาพแวดล้อมรอบๆ ได้มากกว่า เทคโนโลยีแบบ BBS นี้พบได้ในเครื่องตรวจโลหะ Excalibur II และ Sovereign GT ของ Minelab

รายละเอียดเพิ่มเติม

ความยาวต่ำสุด 1.140 เมตร ความยาวสูงสุด 1.220 เมตร
น้ำหนักตัวเครื่อง ขนาดจาน ๘ นิ้วพร้อมแบตตารี่ ๒.๑ กก.
ด้ามถือ เป็นแบบมาตรฐานและก้านที่ใช้สำหรับการดำน้ำ
เทคโนโลยี แบบ Broad Band Spectrum (BBS)
ความถี่ในการส่งสัญญาณ ๑๗ ความถี่พร้อมๆ กัน ว่ากันว่ามีเครื่องตัวนี้ก็เหมือนกับมีเครื่อง ๑๗ ตัวที่ทำงานพร้อมๆ กัน
ระบบการตัดเสียง ตัดเสียงอัตโนมัติ automatic ground rejection
หลอดแตตารี่ NiMH 13V, 1000 mAh
หูฟัง Koss High Impedance

ข้อมูลและภาพ จาก Minelab