My Pride
Collection Exchange
18 July 2010
White's BeachHunter®ID (5)
กระเป๋า (Hipmount Bag)
กระเป๋าของเครื่องรุ่นนี้ white's แถมมาให้ด้วย แม้จะไม่หรูหรา แต่ใช้ประโยชน์ได้เยอะ เป็นรูปกระเป๋าหุ้มเครื่อง เราถอดเครื่องออกมาจากก้าน นำมาร้อยกับเข็มขัด ทำให้เบาแขน ไม่เมื่อย
White's BeachHunter®ID
White's BeachHunter®ID (4)
White's BeachHunter®ID (3)
White's BeachHunter®ID (2)
17 July 2010
White's BeachHunter®ID
มีเพื่อนๆ ฝากบอกมาว่า อยากให้แจงรายละเอียดของเครื่อง White's รุ่น Beach Hunter ID หน่อย หากไม่นำมาให้ดูก็เกรงจะใจดำไปหน่อย ลองดูเครื่องก่อนนะครับ
ก่อนอื่น ลักษณะภายนอกของตัวเครืองเป็นทรงสี่เหลี่ยม เบามาก รูปทรงคล้ายๆ กล่องข้าวกลางวันตอนเราเป็นนักเรียนประถมนั่นแหละ ด้านหนึ่งของเครื่องมีวิธีใช้เครื่องอย่างง่ายๆ สกรีนแปะติดไว้ให้ มีปุ่มควบคุมสามปุ่ม ได้แก่ ปุ่มThreshold ปุ่มSensitivity และปุ่ม Ground
ข้างๆ สันตัวเครื่องใต้ปุ่มมีไฟโชว์เพื่อให้ทราบว่าโลหะเป็นประเภทใด มีอยู่สามช่อง ไฟสีแดง แสดงว่าโลหะที่ตรวจพบเป็นพวกเหล็ก เช่นตะปู ลวด ฝาขวดน้ำอัดลม กิ้บติดผม
ไฟสีเหลืองเป็นพวกแหวนเพชรแหวนพลอย แต่บางทีอลูมินั่มก็อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย
ส่วนไฟสีฟ้าแสดงให้เราทราบว่าเป็นโลหะจำพวกเหรียญต่างๆ และใช้เป็นปุ่มทดสอบว่าแบตตารี่เราเหลืออีกแค่ไหน ดูง่ายดี
เรื่องปุ่มนี้มีเรื่องตลกอยากเล่าให้ฟัง พรรคพวกของเราบางคนเข้าใจว่าถ้ามีปุ่มเยอะๆ จะดี ดูจะเข้าใจคลาดเคลื่อนไปนิดนึง การที่เครื่องจะดีหรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวกับปุ่มมากปุ่มน้อยหรอกครับ อยู่ที่ระบบการทำงานของเครื่องครับ ปุ่มเป็นแค่เครื่องช่วยการควบคุมเท่านั้น
9 June 2010
Excalibur II Review (VII)
17 May 2010
Excalibur II Review (VI)
Mains Charger
ตัวชาร์ตของ Mains Charger มีทั้งแบบ 110V (ที่ใช้ในสหรัฐ) แบบ 230V (ที่ใช้ในสหภาพยุโรปหรือ EU) และแบบ 240V (ที่ใช้ในออสเตรเลีย) ส่วนบ้านเรานั้นเป็นแบบ 220 V ก็ใช้แบบมี ground แบบ 3 รูที่ใช้กับปลั้กคอมพิวเตอร์ทั่วไป
ตัวชาร์ตยี่ห้อนี้เป็นแบบง่ายๆ หยาบๆ สไตล์ China-made ทั่วไป ก็ถือเสียว่าแมวสีอะไร จับหนูได้ก็โอเค ให้ชาร์ตได้ก็ถือว่าจบ
ผมยังชอบรายละเอียดโดยรวมของ White’s มากกว่า งานเรียบร้อยกว่าของ Minelab เยอะ
1 May 2010
Excalibur II Review (V)
หูฟัง (Headphone)
หุฟังของ Excalibur II รุ่นนี้สีเหลืองมองเห็นแต่ไกล ส่วนรายละเอียดนั้นผมว่าสู้หูฟังของ White's ไม่ได้ เพราะหูฟังรุ่นนี้ไม่ได้ล้อกหลังจากปรับแล้ว แต่ปล่อยไว้หลวมๆ ไม่มีร่องล้อกเหมือนของ Fisher และ White's
แรกๆ ผู้ใช้อาจอึดอัด เพราะบางทีหลวมมากต้องตอยปรับดึงขึ้นไปอยู่เรื่อย ๆ น่ารำคาญพอสมควร โดยเฉพาะคนที่มีกระโหลกเล็กแบบคนเอเชียอย่างผม พุดง่ายๆ ว่าหลวมแล้วปรับขึ้นไปก็เลื่อนลงมาอีก แต่พอเล่นไปสักพักก็ชิน
บางคนอาจมีวิธีแก้ปัญหาโดยการพับกระดาษแผ่นเล็กๆ เสียบเข้าไปกันลื่นไหลก็พอช่วยได้อยู่ แต่แหม ของราคาห้าหมื่นกว่าต้องคอยเอากะดาษอีดเข้าไป ดูน่าสังเวชไปหน่อย ก็ขอติหน่อยละกัน ไม่ได้ตำหนิอะไรมาก
30 Apr 2010
Excalibur II Review (IV)
กระบอกจ่ายไฟหรืือ Battery
แบตตารี่ของเครื่องรุ่น Excalibur II นี้ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกคล้ายๆ กับตัวเครื่อง แต่สั้นกว่าเป็นแบตฯแบบ NiKH แบบชาร์ตได้ ไม่ได้ใช้อัลตาไลน์เหมือนอีกหลายยี่ห้อ หากถามว่าผมชอบมั้ย ยังไม่ชอบเพราะหากแบตหมดกระทันหัน เราหมดโอกาสเล่นต่อ เนื่องจากต้องใช้เวลานานในการชาร์ต หากจะซื้อสำรองไว้อีกชุดก็เลิกคิดเพราะราคานั้นก็ตกหลายพันอยู่ (ผมไม่แน่ใจว่าราคาเท่าไร ต้องรอสอบราคาที่คุณแมวดูก่อน ราคาที่เมืองนอก Alkaline Battery Pack ราคา $US 79.95 ส่วน แบตฯแบบ NiMH Battery Pack ราคา US$ 159.85)
อย่างไรก็ตาม มีกล่องแบตฯอีกรุ่นหนึ่งที่ใช้อัลคาไลน์ได้ แต่เราไม่สามารถนำไปเล่นใต้น้ำได้เพราะเป็นแค่ water prove ไม่ใช่ water resist กันน้ำเล็กๆ น้อยๆ ได้ เล่นบนบกได้
ด้านหนึ่งของแบตจะมีสายและปลั้กล้อกกับตัวเครื่อง ตรงนี้กันน้ำได้ เพราะมียางแบบพิเศษคั่นไว้ ก็นับว่าปลอดภัยดี ผมลองนำลงไปหาในน้ำ ยังไม่เกิดอะไรขึ้นเพราะน้ำตื้นแค่เอวเท่านั้น เปียกเครื่องเพียงนิดหน่อย น้ำยังไม่เข้ารอยเชื่อมของแบตฯ
ในคู่มือของ Excalibur II บอกไว้ว่า หากชาร์ตแบตฯจนเต็ม (ก็ต้องเดาๆเอาเองว่าเต็มเมื่อไรเพราะไม่มีสัญญาณไฟบอก)สามารถเล่นได้นานถึง ๑๔ -๑๙ ชม. ผมลองนำไปเล่นสองครั้ง แบตฯ ใช้ได้ครั้งละแต่ ๓ ชม. ก็มีเสียงร้องเตือนว่าแบตฯใกล้หมดแล้ว
ผมคิดว่าน่าจะมีอะไรผิดปกติ สอบถามไปที่ตัวแทนจำหน่ายเพื่อติดต่อบริษัทฯให้ทราบเรื่องนี้ บริษัทฯ เมล์มาให้ข้อแนะนำว่าให้ล้างแบตฯ (cycle) ใหม่ ผมทำตามคำแนะนำ แต่ไม่ได้ผล ท้ายที่สุดต้องส่งแบตฯกลับไปเพื่อตรวจสอบและเปลี่ยนใหม่ คุณคีธ คุณแมวซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายช่วยได้มากทีเดียว พร้อมกับขอแบตตารี่แพ็คที่ใช้กับอัลคาไลน์มาให้อีกหนึ่งอัน ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
Excalibur II Review (III)
Coil หรือจาน
Slimline coil หรือจานของเครื่องรุ่น Excalibur II นี้ออกแบบเป็นรูปตัว D สองตัวหันหน้าเข้าหากัน ไม่ได้เป็นแบบ spider เหมือนกับของ Fisher CZ-21 แต่ประการใด น้ำหนักไม่มากเมื่อรวมกับก้านถือ ใต้จานมีปอกสีเหลือง (Skidplate) หุ้มไว้เพื่อกันรอยขีดข่วนที่ใต้ท้องจาน
จานหรือ coil รุ่นนี้มีสองขนาด แบบเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘ นิ้วและแบบ ๑๐ นิ้ว ในบ้านเรานั้นสั่งมาเป็นแบบ ๘ นิ้วเพราะน้ำหนักเบากว่า ส่วนประสิทธิภาพระหว่างสองแบบนี้บริษัทบอกว่าใกล้เคียงกัน ผมยังไม่ได้ลองแบบ ๑๐ นิ้ว จึงยังไม่ทราบว่าต่างกับแบบ ๘ นิ้วอย่างไร เท่าที่ลอง จานรุ่นนี้จะบางกว่าจานของ Fisher
อย่างไรก็ตาม หลังจากทดลองเล่นครั้งละ ๔ ชม. สองครั้ง ผมพบว่าน้อตที่ขันระหว่างจานกับก้านถือนั้นขันแน่นอย่างไรก็หลวม พอเดินไปนานๆ จานอาจไม่ได้องศากับพื้นเหมือนที่ตั้งไว้ ต้องคอยปรับอยู่บ่อยๆ น้อตของ Excalibur II นี้สู้ของ Fisher CZ ไม่ได้เพราะแน่นกว่าไม่เอียงเบี้ยวเหมือนของ Minelab Excalibur ผมว่าบริษัทแก้ปัญหาง่ายๆ ไม่ได้ก็ไม่ต้องเดาว่าอย่างอื่นก็คงชุ่ยเหมือนกัน
ผมเปิดไปที่เว็บของ Kellyco มีคนหัวใสแก้ปัญหานี้โดยการทำ Loop support ออกจำหน่ายเพื่อแก้ปัญหาจานงุ้มลงหรือเงยขึ้น ก็ได้แต่หวังว่า Minelab คงแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ในเร็ววันนี้
ส่วนของผมนั้นแก้ปัญหาด้วยการใส่แหวนยางที่ใช้กับสายยางสุขภัณฑ์ไปที่หัวน้อตตัวผู้ ได้ผลดีครับ ไม่โยกคลอนอีกเลย
Excalibur II Review (II)
ลักษณะตัวเครื่องของ Minelab Excalibur II รุ่นนี้แตกต่างจากยี่ห้ออื่น ตัวเครื่องป็นรูปทรงกระบอกยาว ไม่ได้เป็นกล่องเหมือนกับยี่ห้ออื่นๆ หากล้อกติดกับก้านถือน้ำหนักไม่เบาเชียวหละ สองกิโลเศษๆ เดินนานๆ ก็หนักเอาเรื่องอยู่
น่าเสียดายที่บริษัทไม่ได้แถมประเป๋ามาให้ ต้องซื้อแยกต่างหาก ไม่รู้จะขี้เหนียวทำไม ราคาเครื่องก็ปาเข้าไปกว่าห้าหมื่นบาท (ที่ต่างประเทศราคา ๑.๑๘๙ ดอลลาร์) เขาแถมแต่ประเป๋าใส่ของแบบแบนๆ พกหน้าท้องมาให้ เราไม่อยากได้เพราะไม่ค่อยได้ใช้ เราซื้อกระเป๋าที่แม่ค้าในตลาดใส่ทอนเงินมาใช้ ดีกว่ากันเยอะ
ทางเลือกของเราคือเราดัดแปลงเอาเองโดยใช้สายรัดแบบหัวล้อกมาใช้ ก็ใช้งานได้ดีโดยห้อยร้อยติดกับเข็มขัดรัดเอว สบายไปเยอะเลย ไม่หนักมาก ลองประดิษฐ์เองดูก็ได้หากไม่ชอบแบบที่ผมทำ ไม่ต้องเสียค่าที่คาดเอวหรือ Hip-mount Kit ของบริษัทที่ขายแยกต่างหากในราคาประมาณ ๒,๐๐๐ บาท
Minelab's Excalibur II Review (I)
ผมได้เครื่อง Minelab รุ่นนี้มาจากคุณแมวซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย Minelab's Detectors และทดลองใช้ไปแค่สองครั้ง จึงยังไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่าเครื่องรุ่นนี้ดีกว่าเครื่องยี่ห้ออื่นๆ อย่างไร แต่พอบอกได้ในลักษณะทั่วๆ ก่อนครับ
เครื่องรุ่นนี้เป็นเครื่องตรวจโลหะประเภท Underwater detector สามารถนำไปใช้งานใต้น้ำได้ นั่นหมายถึงว่ามีระบบกันน้ำและความกดดันใต้น้ำได้ลึก ๖๐.๙๕ เมตรหรือ ๒๐๐ ฟุต ในบ้านเรานั้นยังไม่มีใครนำไปใช้งานใต้น้ำมากนัก ส่วนใหญ่ใช้งานตามชายหาดหรือลงน้ำบ้างในระดับเอวหรือแค่หน้าอกเท่านั้น ไม่ได้ดำแบบนักประดาน้ำ ดังนั้นพวกเขาบางคนซื้อเครื่องแบบใช้งานใต้น้ำมาเพื่อแค่กันน้ำได้เท่านั้น ส่วนคุณภาพก็ว่ากันอีกที
บ้านเรานั้น นักหาของหรือ Metal detectorist ยังไม่ค่อยให้ความสนใจเทคโนโลยีของเครื่องเแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อเท่าใดนัก แต่จะให้ความสำคัญกับยี่ห้อเท่านั้น ก็เล่นกันไปตามกระแส หากเพ่ือนๆ ซื้อยี่ห้อดังแบบ hi-end ก็คิดว่าดีเพราะการเล่นเครื่องหาโลหะนี้จำกัดอยู่ในวงแคบ ความรู้และข่าวสารยังเข้าไม่ถึงอาจเนื่องมาจากกีฬาประเภทนี้ยังแคบอยู่ก็เป็นได้
และการใช้เครื่องประเภทใต้น้ำ ผู็ใช้ก็ยังยึดติดเครื่องตรวจโลหะใต้น้ำกับยี่ห้อ Fisherโดยเฉพาะรุ่น CZ-20 (ปัจจุบันเลิกผลิตไปแล้ว) ซึ่งใช้ใต้น้ำได้ (ส่วนจะดีหรือไม่ดีนัน อีกเรื่องหนึ่ง) กับรุ่น CZ-21ซึ่งออกมาใหม่ล่าสุด แต่ยังมีข้อเสียอยู่บ้างในเรื่องของรอยเชื่อมต่อระหว่าง Search coil กับสายเคเบิล มีปัญหามาตลอด ผมลองใช้มาแล้วทั้งสองรุ่น ยังไม่ประทับใจนัก
เครื่อง Excalibur II รุ่นนี้ออกวางจำหน่ายหลังจากบริษัท Minelab ได้ออกเครื่อง excalibur รุ่น 800 (จาน ๘ นิ้ว) กับรุ่น 1000 (จาน ๑๐ นิ้ว) ไปก่อนหน้านี้จะผิดเพิ้ยนกันตรงสีของเครื่องส่วนการใช้งาน จะค่อยๆ ทะยอยนำมาบอกเล่ากันครับ
5 Apr 2010
Excalibur II ของ Minelab
Excalibur II
บริษัท Minelab คุยไว้ในแผ่นโฆษณาของเขาว่าเครื่องรุ่นนี้เป็นเครื่องตรวจโลหะที่ดีที่สุดหรือ The World’s Best Water Detector เท็จจริงอย่างไรมาลองดูคุณสมบัติเครื่องของเขาก่อนดีกว่า
เครื่องรุ่นนี้แตกต่างจากเครื่องยี่ห้ออื่นตรงที่ว่าเขาใช้เทคโนโลยีแบบ Broad Band Spectrum (BBS) ประสานกับเทคโนโลยีที่เรียกว่า superior ground rejecting technology หรือการตัดพื้นดินที่เหนือชั้นทำให้ Excalibur II เป็นเครื่องหาโลหะใต้น้ำในฝันของคนหาของ เครื่องรุ่นนี้ใช้ได้ทั้งบนบก ตามหาดทรายและใต้น้ำ เพราะสามารถใช้ใต้น้ำได้ลึกถึง ๖๖ เมตร หรือ ๒๐๐ ฟุต (ในบ้านเรายังไม่มีใครใช้ในน้ำลึกขนาดนั้น นอกจากนักโบราณคดีใต้น้ำ)
สรุปว่าไม่ว่าจะหาของตามพื้นดินหรือตามชายหาด หรือในน้ำ เครื่องรุ่นนี้เป็นอีกรุ่นที่น่าสนใจ แต่ในบ้านเรานั้นยังไม่แพร่หลายนัก แต่มีตัวแทนนำมาจำหน่ายแล้วตอนนี้ ติดต่อคุณ คีธได้ครับ
คุณสมบัติเฉพาะของเครื่อง
• เทคโนโลยีแบบ BBS มี ๑๗ ช่วงคลื่น (ตั้งแต่ 1.5kHz ไปจนถึง 25.5kHz).
• High Visibility (Hi-Vis) fluorescent bodywork.
• จานแบบ Slimline l เป็นรูปตัว D สองตัวหรือที่เรียกว่า duble D(มีให้เลือกทั้งแบบ 8” หรือ 10” ) เพื่อลดน้ำหนักให้สมดุลย์กับเครื่อง
• ใช้แบตตารี่กล่อง NiMH แบบชาร์ตได้ สามรถใช้งานได้ถึง ๑๒ ชม.
• ปลอกหุ้มจานแบบ Hi-Vis Skid
• ก้านถือเลื่อนได้เพื่อให้เพมาะกับระดับความลึกของน้ำ
ศัพท์น่ารู้
Broad Band Spectrum (BBS)คืออะไร
BBS เป็นเทคโนโลยีการตรวจโลหะโดยการใช้ความถี่แบบหลายความถี่ของ Minelab เจ้า BBS นี้จะส่งสัญญาณคลื่นความถี่ช่วงกว้างตั้งแต่ช่วงความถี่ 1.5 kHz ไปจนถึง 25.5 kHz ช่วงความถี่แบบนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายและสภาพแวดล้อมรอบๆ ได้มากกว่า เทคโนโลยีแบบ BBS นี้พบได้ในเครื่องตรวจโลหะ Excalibur II และ Sovereign GT ของ Minelab
รายละเอียดเพิ่มเติม
ความยาวต่ำสุด 1.140 เมตร ความยาวสูงสุด 1.220 เมตร
น้ำหนักตัวเครื่อง ขนาดจาน ๘ นิ้วพร้อมแบตตารี่ ๒.๑ กก.
ด้ามถือ เป็นแบบมาตรฐานและก้านที่ใช้สำหรับการดำน้ำ
เทคโนโลยี แบบ Broad Band Spectrum (BBS)
ความถี่ในการส่งสัญญาณ ๑๗ ความถี่พร้อมๆ กัน ว่ากันว่ามีเครื่องตัวนี้ก็เหมือนกับมีเครื่อง ๑๗ ตัวที่ทำงานพร้อมๆ กัน
ระบบการตัดเสียง ตัดเสียงอัตโนมัติ automatic ground rejection
หลอดแตตารี่ NiMH 13V, 1000 mAh
หูฟัง Koss High Impedance
ข้อมูลและภาพ จาก Minelab
2 Nov 2009
Minelab Excalibur 1000
คุณสมบัติของเครื่อง
ตรวจโลหะได้ลึกเป็นพิเศษ แยกเสียงได้แม่นยำเพราะใช้ระบบ BBS
ไม่มีเสียงรบกวน เมื่อลงน้ำทะเล
ใช้ได้ทั้งบนบก ใต้น้ำและบนหาดทราย
การควบคุมควมลึกทุกสภาพพื้นที่
ระบบเสียงTone Target ID
เมื่อแบตใกล้หมดจะมีเสียงเตือน Low Battery Alert
ระบบตั้งปรับก่อนใช้
ปุ่มควบคุมความดัง (Adjustable Volume)
รับประกันหนึ่งปี
น้ำหนัก 5.3 ปอนด์
มีคู่มือให้อ่านครบครับ
มีหูฟังแบบใต้น้ำ (Submersible Headphone)
ศัพท์ภาษาอังกฤษที่ควรรู้
Disc - Set it to accept the good targets and ignore the rest
Sensitivity - Controls the detecting range for various objects
Volume - Adjust the level of signal volume to your liking
Threshold - The level of background audio which aids signals
Disc/Pinpoint - Disc detects only good objects, Pinpoint makes recovery easy.
ลองหาอ่านคู่มือเต็มจาก Minelab นะครับ
25 Sept 2009
กรุสมบัติอังกฤษ
วงการโบราณคดีของอังกฤษต้องตะลึงงัน ตาแทบถลนออกจากเบ้า เมื่อนักล่าสมบัติสมัครเล่น (an amateur treasure-hunter) รายหนึ่งที่ชื่อตาเทอรี่ เฮอร์เบิร์ต (Terry Herbert) วัย ๕๕ไปเจอกรุสมบัติเก่าแก่ (หรือจะเรียกมหาสมบัติก็ได้)ในยุคกลางของอังกฤษเข้าขณะกำลังใช้เครื่อง metal detector หาของอยู่ในทุ่งนาแห่งหนึ่ง นับเป็นการพบสมบัติมหาศาลครั้งใหญ่อย่างไม่เคยพบมาก่อนในอดีต
การพบกรุสมบัติเก่าที่ว่านี้มีความหมายมากต่อวงการโบราณคดีมากมหาศาลเพราะไม่ใช่เป็นการพบสมบัติโบราณทั่วๆ ไปเหมือนคนหาของแบบเราๆ พบกัน แต่สมบัติกรุนี้เป็นของเก่าแก่ในยุค Anglo-Saxon โน่น พวก Anglo-Saxon นี้ก็คือพวกที่เคยปกครองอังกฤษตั้งแต่ศตวรรษที่ห้า
พอมาถึงปี ค.ศ. ๑๐๖๖ หรือประมาณ พ.ศ. ๑๖๐๙ พวกนอร์มันก็บุกไปครอบครองอังกฤษและได้ทิ้งอิทธิพลทางวัฒนธรรมไว้มากมายทั่วโลกที่พูดภาษาอังกฤษ
สมบัติที่พบมีทั้งเครื่องประดับข้าวของที่ทำด้วยเงินและทอง
บางคนที่ไม่ได้อ่านประวัติศาสตร์อาจจะงงว่าแล้วพวก Anglo-Saxon นี่เป็นใครกัน
ขอขยายความหน่อย พวก Anglo-Saxon ก็คือกลุ่มชนเผ่า Germanic ที่รุกเข้าไปในอังกฤษในช่วงต้นๆ ของการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันนั่นเอง ภาษาอังกฤษที่เราพูดๆ กันอยู่ทุกวันนี้ก็มีรากศัพท์มาจากภาษา Germanic นั่นเอง
กรุสมบัติเงินและทองเหล่านี้พบในบริเวณที่เมื่อก่อนเคยเรียกว่า Mercia ซึ่งเป็นเมืองหลักหนึ่งในห้าเมืองของอาณาจักรแองโกล-แซกซั่น ว่ากันว่ามีอายุเก่าขนาดย้อนกลับไปในยุค พ.ศ. ๑๒๑๗ ถึง พ.ศ. ๑๒๖๘ โน่น
สมบัติที่พบเหล่านี้ประกอบไปด้วยหงอนประดับหมวกออกศึกที่สลักไว้ด้วยรูปสัตว์ที่ออกแบบได้งามวิจิตร กระดานหมากรุกฝังทองและอัญมณี แผ่นทองที่จารึกคัมภีร์ภาษาลาตินเพื่อขับไล่ศัตรูและยังมีของมีค่าอีกมากมาย
ข้อมูลและภาพจาก Yahoo! News Story
25 Aug 2009
Tin Box Collection (20)
สิ่งทึ่ต้องซื้อวันนี้
สิ่งที่ทำให้กล่องมีค่าสำหรับนักสะสมก็คือความเก่าของกล่อง เช่น หากเราเจอกล่องคุ้กกี้โอริโอ้ (Oreo cookie)จากเทศกาลคริสมาส พ.ศ. ๒๕๓๗ ที่สภาพดีๆ ให้เก็บไว้ เพราะกล่องนี้จะเป็นที่ต้องการของนักสะสมในที่สุด หากเราไปที่ร้านขายของชำในละแวกบ้านเรา ให้มองหากล่องยี่ห้อที่ขายอยู่ในปัจจุบันที่ออกมาในเทศกาลพิเศษๆ เอาอาหารออกและเก็บไว้ในสภาพแวดล้อมที่สะอาดและแห้ง จากนั้นก็ทิ้งไว้สักสิบปีหรือประมาณนั้น หลังจากนั้น กล่องที่เราสะสมไว้ก็จะมีค่าไปเองแหละ
ง่ายๆ แต่ได้ผลครับ
ภาพจาก Red Riding Hood Edibles
Tin Box Collection (19)
ยี่ห้อ
กล่องที่วางตลาดในเขตท้องถิ่นตนเองอาจดูมีค่าในพื้นที่ที่ผลิตสินค้านั้นๆ แต่อาจจะไม่มีค่ามากนอกเขตหรือเขตอื่น อย่างไรก็ตามกล่องจากยี่ห้อใหญ่ๆ ระดับประเทศที่หาไม่ได้แล้วซึ่งอาจเป็นที่ต้องการของนักสะสมอาจซื้อหาได้จากคนที่ไม่รู้ว่ากล่องที่ตัวเองมีนั้นมีมูลค่า เราควรเริ่มจากตรงนี้ ขอแนะนำให้เราศึกษาจากหนังสือหรือตำราเพื่อให้คุ้นเคยกับกล่องยี่ห้อต่างๆ เช่นกล่องขนมปัง Uneeda Biscuit เป็นกล่องขนมคุ้กกี้และแครกเกอร์ของผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในโลกยี่ห้อหนึ่ง
หากเราตั้งใจจะหากล่องเก่าๆ ในยุคกลางศตวรรษที่ ๒๐ แนะนำให้ไปหาจากร้านขายของชำที่เลิกกิจการไปแล้ว และกล่องเหล่านี้จะกลายเป็นกล่องที่คนเริ่มสะสมกันในวันข้างหน้าได้ ให้หากล่องขนมปังกรอบหรือแครกเกอร์ที่โปรโมชั่นขายกันในเทศกาลต่างๆ กล่องเหล่านั้นอาจไม่มีค่าในวันนี้ก็จริง แต่ในอนาคตก็ไม่แน่นะครับ
ภาพจาก Link & pin Hobby
Tin Box Collection (18)
18 Aug 2009
สภาพกล่อง
สภาพกล่อง
กล่องหรือกระป๋องจะมีราคามากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพของกล่องหรือกระป๋องกล่องเก่า กล่องไม่ควรมีรอยขีดข่วนหรือภาพบนกล่องเลือนไป หากกล่องมีฝุ่นเกาะหรือสนิมจับ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำสบู่หมาดๆ เช็ด ไม่ควรใช้วัสดุใดที่จะทำให้ผิวของกล่องเสียหายทำความสะอาดกล่อง สีที่เคลือบกล่องอาจลางเลือนไปเร็วกว่ากำหนดหากอยู่ในภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม การขัดถูก็อาจทำให้สีเลือนหรือถลอกได้
เรียบเรียงจาก Antique advertising tin collection
ภาพจาก flickr
ของเลียนแบบ (ของก้อป)
กล่องเลียนแบบ
เมื่อกล่องเริ่มเป็นที่นิยมของนักสะสมมากขึ้น ก็มีการเริ่มลอกเลียนแบบกล่องที่ได้รับความนิยมมากๆ เพื่อล่อตาล่อใจนักสะสม ที่พบเห็นกันมากๆได้แก่ชุดโคคา-โคล่าเป็นชุดทำเลียนแบบก่อนใครเพื่อน และของเลียนแบบนั้น บางเจ้า คุณภาพจัดว่าเยี่ยม หากดูไม่ออกอาจจะเสียเงินมากเพื่อซื้อของเลียนแบบเหล่านี้ได้ แล้วถามว่าจะรู้ได้อย่างไร ว่าอันไหนของแท้ ของเลียนแบบ คำแนะนำที่เป็นประโยชน์กับนักสะสมมือใหม่ก็คือให้หาซื้อหนังสือที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ไว้เป็นคู่มือ กระป๋องบางชนิดนั้นทำเลียนแบบได้เนียนมาก ถ้าไม่ใช้เซียนจริงๆ ก็ยากที่จะรู้เพราะของก้อปบางอย่างนั้นเหมือนของจริงมากๆ
ข้อมูล เรียบเรียงจาก eSSORTMENR
ภาพจาก ioffer
สะสมกล่อง
บริษัทผู้ผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ใช้หีบห่อเพื่อโฆษณาสินค้าของตนมาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว ในยุคก่อนๆ หีบห่อบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นเป็นงานศิลปในตัวของมันเอง ก่อนจะถึงยุคการถนอมอาหาร อาหารถูกบรรจุไว้ในกล่องหรือกระป๋องเพื่อให้อาหารไม่เสียหรือบูดเน่าก่อนถึงมือผู้บริโภค กระป๋องดีบุกใช้บรรจุทุกอย่าง ตั้งแต่คุ้กกี้ไปจนถึงกาแฟ และปัจจุบันกล่องเหล่านั้นกลายเป็นของมีค่าสำหรับนักสะสมไปแล้ว
ในยุคก่อน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นต้นมา ผู้คนเริ่มนิยมสะสมกล่องที่มีข้อความโฆษณา ผู้สะสมอาจหามาจากตลาดเปิดท้าย การาจเซล ตลาดนัดหรือตลาดมืดและสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ง่ายขึ้น ต่อมากล่องเหล่านี้เริ่มเป็นที่ต้องการมากขึ้น บางคนก็นำมาใช้เป็นเครื่องตกแต่งบ้าน นิตยสารต่างๆ นำเรื่องราวของกล่องมาเสนอทำให้บริษัทต่างๆก็ผลิตกล่องหรือกระป๋องให้มีสีสรรมากขึ้น แน่นอนราคาของกล่องก็ขยับสูงขึ้นด้วย
ปัจจุบันกล่องสภาพดีๆ ในต่างประเทศนั้นมีราคาสูงหลายร้อยดอลลาร์ นับเป็นการลงทุนอีกแบบหนึ่ง แต่ก็อย่างว่าการจะได้กล่องดีๆ มาครอบครองนั้นต้องเวลาเป็นสิบปี นักสะสมมือใหม่ควรเริ่ทสะสมเท่าที่หาได้ก่อน แล้วค่อยสะสมไปเรื่อยๆ ก็จะได้กล่องตามที่อยากได้แลละของที่เรมีก็จะมีค่ามากขึ้นเรื่อยๆ
ข้อมูล เรียบเรียงจาก Antique advertising tin collection
ภาพจาก Tea Tin Collection of Stano Breja
Tin Collection (17)
Tin Collection (16)
Tin Collection (15)
Tin Collection (14)
Tin Collection (13)
Tin Collection (12)
Tin Collection (8)
Tin Collection (7)
Tin Collection (6)
Tin Collection (5)
Tin Collection (4)
Tin Collection (3)
Tin Collection (2)
Tin Collection (1)
22 July 2009
การเลือกซื้อ Metal detetctor
มีแฟนๆ ที่อ่านบล้อกนี้โทรศัพท์และอีเมล์มาถามว่าไม่เคยเล่นเครื่องแบบนี้มาก่อนและอยากจะลองเล่นบ้างจะเริ่มต้นอย่างไรและจะเลือกซื้ออย่างไร
ก่อนอื่นต้องรู้ว่าเราจะหาอะไร ที่ที่เราจะไปหานั้นอยู่ที่ไหน งบมีมากน้อยแค่ไหนเพราะเครื่อง Metal detector ที่ว่านี้มีหลายราคา หลายยี่ห้อ ตั้งแต่หมื่นกว่าบาทต้นๆ ไปจนถึงห้า-หกหมื่นบาท แต่ตอนนี้ขอแนะนำให้ซื้อของแบบธรรมดาๆ ครับเพราะถูกตังค์ดี
เคล็ดในการเลือกซื้อ Metal detectorหากเราอยากได้เครื่อง Metal detector สักเครื่อง เราต้องระลึกอยู่เสมอว่าเราต้องซื้อเครื่องที่เหมาะกับการใช้งานของเราเป็นที่ตั้ง ก่อนอื่นต้องตัดสินใจให้ได้ว่าเราจะใช้เครื่อง Metal detector ไปหาของที่ไหน เราสนใจจะหาอะไร หาที่ชายหาดหรือว่าในน้ำหรือในป่า เพราะการเลือกสถานที่จะไปนั้นจะทำให้เราตัดสินใจว่าจะซื้อเครื่อง Metal detector แบบไหนเนื่องจากว่า detector มีหลากหลายแบบขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละคน
พึงระลึกว่าสถานที่ที่เราจะนำเครื่อง Metal detector ไปหาของนั้นสำคัญกว่ายี่ห้อของเครื่อง ในบ้านเรานั้นเท่าที่ผมสำรวจดู นิยมเล่นยี่ห้อ Fisher เพราะก่อนๆ นั้นฝรั่งนำเครื่องยี่ห้อนี้มาขายก่อน ก็เลยได้รับความนิยม ส่วนคุณภาพของเครื่อง Metal detector นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่น ถ้าจะเทียบก็คล้ายๆ กับการซื้อรถยนต์ในบ้านเรานั่นแหละ พวกเขาซื้อยี่ห้อและรุ่นที่ขายต่อง่ายๆ แต่ผมเคยใช้ Metal detector ยี่ห้อนี้มา ๒ เครื่อง คุณภาพไม่เป็นที่ประทับใจมากนัก
พูดให้ง่ายเข้า ซื้อเครื่อง Metal detector ตามความสามรถของกระเป๋าเราน่ะดีที่สุดครับ
ภาพจาก metallocators.com
21 Jan 2009
BeachHunter® 300
คุณสมบัติเฉพาะ
• 300 มม. จานแบบ spider ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว ทำให้ตัวจานมีสมดุล ไม่ลอยน้ำเหมือนรุ่น BeachHunter ID
• เครื่องเป็นระบบ Dual Frequency ทำให้ใช้ได้ดีทั้งบนบกชายหาดและในน้ำ
• หาของได้สองแบบโดยใช้ ปุ่ม All-Metal และ Motion Discrimination เพื่อสะดวกในการค้นหาให้ตรงจุด
• ควบคุมแบบ 3 ปุ่ม คือปุ่ม Threshold ปุ่ม Sensitivity และปุ่ม Ground
• เครื่องรุ่นนี้ใช้ได้กับสภาพพื้นที่ทั้งน้ำ น้ำเค็มและน้ำจืด
• ใช้แบตตารี่ขนาด "AA" จำนวนแปดก้อน ใช้งานได้ติดต่อกันนานถึง 20 ชั่วโมง
• ตัวเครื่องแขวนเอวได้แถมมากับกระเป๋า
• กันน้ำได้ลึก 7.5 เมตร
• หูฟังเป็นสายแข็งแรง ติดกับตัวเครื่องถอดไม่ได้
Subscribe to:
Posts (Atom)